กรณีศึกษาในไทย

1. ความเป็นมา                การดำเนินงานของโครงการชีววิถี ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในแต่ละพื้นที่จะยึดมั่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักการที่มุ่งส่งเสริมให้สมาชิกของโครงการสร้างแบบของวิธีการ (Ways) “ลดรายจ่าย และสร้างรายได้เพื่อการพึ่งตนเอง” สามารถเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนและเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ของผู้สนใจทั่วไป                การส่งเสริมงานตามโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เริ่มจากฐานของกิจกรรมในการใช้ปุ๋ย EM สำหรับการผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับพืชผลทางการเกษตร ทั้งพืชผัก พืชผล พืชไร่นา ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อการลดต้นทุนทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ลดรายจ่าย ลดการใช้สารเคมี  ในขณะเดียวกัน ก็ส่งเสริมชุมชนให้พัฒนาอาชีพ จากการเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ไว้ใช้บริโภคเอง เท่ากับเป็นการลดรายจ่ายในการชีวิตประจำวันลงไป เหลือก็ขายสร้างรายได้จุนเจือในครัวเรือน

           \"\"

 

2. การดำเนินงาน                กรณีศึกษาบ้านโคกสยา พบว่า ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากกิจกรรมตามโครงการฯ ลดรายจ่ายในชีวิตประจำวันของครัวเรือนลงไปได้ 18% นั้น ในขณะเดียวกัน เฉพาะสมาชิกที่มีการปลูกมันสำปะหลัง จะมีรายได้เพิ่มจากการปลูกมันสำปะหลัง 50% ของรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนที่มีอยู่เดิม จึงนับได้ว่า เป็นงานที่มีคุณค่าให้กับสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการในระดับสูง ยังไม่นับรายได้จากการเลี้ยงปลาดุก เลี้ยงไก่ไข่ ไก่เนื้อ ปลูกสับปะรด นอกจากนั้น สมาชิกในชุมชนและในละแวกใกล้เคียง ยังได้รับข้อมูลความรู้และการพัฒนาทักษะจากศูนย์เรียนรู้ เพื่อนำไปใช้พัฒนาทักษะอาชีพของตนเองได้อีกทางหนึ่งด้วย   3. ผลลัพธ์                คุณค่าของการดำเนินงานของโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของ กฟผ. ที่บ้านโคกสยา ซึ่งเปิดโอกาสให้สมาชิกในโครงการเข้ามาใช้ประโยชน์ในที่ดินใต้แนวสายส่ง จำนวน 30 ราย จะสามารถอธิบายได้ว่า สามารถลดรายจ่ายลงได้ 18% ของรายจ่ายครัวเรือน และมีรายได้เพิ่มขึ้น 50% ของรายได้ครัวเรือนเดิม (เป็นอย่างน้อย)                ในขณะเดียวกัน กฟผ. ก็ได้รับผลพวงจากความพอใจของสมาชิกในโครงการที่ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ใต้แนวสายส่ง เพราะเขาเหล่านั้นได้ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นผู้เฝ้าระวังเหตุที่จะเกิดขึ้นต่อเสาไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งเคยมีเหตุการณ์ที่ กฟผ. เคยถูกวางระเบิดเสาไฟฟ้าแรงสูงและต้องใช้งบประมาณในการซ่อมแซม มากถึง 1,000,000 บาทต่อต้น ในขณะที่งบประมาณในโครงการนี้ใช้ไปเพียง 150,000 บาทต่อปี    
Share this

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *